วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รหัสลับบุคคล
(PIN Code : Personal Identification Number Code)
PIN Code คืออะไร



PIN Code คือชุดตัวเลขหรือตัวอักษรที่กำหนดขึ้นเป็นรหัสลับเฉพาะส่วนบุคคลที่ใช้ร่วมกับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อใช้เป็นรหัสผ่านเข้าสู่ระบบงานหรือการให้บริการในระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้ข้อกำหนดหรือรูปแบบของหน่วยงานผู้ให้บริการจะกำหนดขึ้น


PIN Code กับ กรมการปกครอง



กรมการปกครองได้พัฒนาระบบงานการให้บริการประชาชนทางด้านงานทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์มาอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและประชาชนที่ไปติดต่อขอใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จากการพัฒนาระบบงานอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนทุกหนแห่งมีสิทธิเข้าถึงการบริการของภาครัฐที่เปิดให้บริการข้อมูลด้านต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงผ่านระบบเครือข่าย กรมการปกครองจึงได้ขยายรูปแบบการให้บริการโดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากอธิบดีกรมการปกครองให้สำนักบริหารการทะเบียนเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบนำโครงการรหัสบุคคล(PIN PROJECT) มาใช้ พร้อมทั้งให้กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คนไทยดอทคอมฟรี (Free E-mail Address khonthai.com) แก่คนไทยทุกคนที่มีรหัส PIN Code เพื่อใช้ในการรับ-ส่งจดหมายผ่านระบบเครือข่าย Internet ที่เว็บไซต์ www.khonthai.com


เริ่มใช้รหัส PIN Code เมื่อไหร่



กรมการปกครองได้เริ่มให้บริการรหัส PIN Code เป็นการทดลองปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นรหัสผ่านควบคู่กับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อเข้าสู่ระบบการให้บริการตรวจสอบข้อมูลของตนเองและเป็นรหัสผ่านเข้าสู่กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ได้มาพร้อมกับรหัส PIN Code ผ่านInternet ที่www.dopa.go.th และ www.khonthai.com


ผู้มีสิทธิ และ การไปติดต่อขอรับ PIN Code



1. ประชาชนคนไทยทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิขอรับได้ทุกคน PIN Code 
2. หากท่านต้องการ สามารถไปขอรหัส PIN Code ได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักงานเขต หรือเทศบาล แห่งใดก็ได้ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สำนักทะเบียนสามารถออนไลน์ทั่วถึงกันทุกแห่งแล้ว ให้ไปติดต่อขอรับที่งานทะเบียนราษฎร
3. โปรแกรมให้รหัสลับบุคคล หรือ PIN Code นี้จะอยู่ที่ โปรแกรมรับแจ้งให้บริการงานทะเบียนราษฎร ข้อที่ 11
4. ผู้ขอต้องเป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้น 
5. หลักฐานที่ใช้ เพียงบัตรประจำตัวประชาชนก็พอแล้ว (สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรสามารถนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาใบสูติบัตรไปยื่นขอได้ที่งานทะเบียนราษฎร) ปล. ไม่มีค่าใช้จ่าย-ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น


รหัส PIN Code ที่ได้มาเป็นอย่างไร


รหัส PIN Code ที่ได้มา (อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร 4 ตัว) มี 2 ชุด อยู่คนละบรรทัด ชุดที่ 1 บรรทัดบน เรียกว่า PIN 1 ชุดที่ 2 บรรทัดล่าง เรียกว่า PIN 2 โดยทั่วไปจะใช้ PIN 1 ส่วน PIN 2 จะใช้ในบางโปรแกรมซึ่งจะระบุให้ใช้ทั้ง PIN 1 และ PIN 2 โดยจะมีคำชี้แจงแจ้งให้ทราบไว้อย่างชัดเจน
เมื่อท่านได้รหัส PIN Code มา ท่านจะได้รับกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คนไทยดอทคอมโดยอัตโนมัติด้วย ซึ่ง e-mail address ของท่านคือ pตามด้วยเลขประจำตัวประชาชนของท่าน@khonthai.com ดังตัวอย่าง p3100199999001@khonthai.com ฟรีทันทีซึ่งให้เนื้อที่เก็บจดหมายขนาด 2 เมกะไบต์ (Megabytes) และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลได้ครั้งละ 30 กิโลไบต์ (Kilobyte) เมื่อใดก็ตามที่เนื้อที่เก็บจดหมายของท่านเต็มท่านจะไม่สามารถรับจดหมายใหม่ได้ท่านต้องทำการลบจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้งด้วยตัวท่านเอง



การใช้รหัส PIN Code



เมื่อท่านได้รับรหัส PIN Code มาท่านสามารถเข้าสู่ระบบตรวจสอบข้อมูลตนเองได้ทันที 
สำหรับการเข้าใช้งานระบบ webmail khonthai ท่านจะใช้งานได้ในวันถัดไป
ช่องทางการเข้าใช้งาน มีดังนี้
1. ที่เว็บไซต์ www.dopa.go.th และ คลิกที่ Banner : Thailand Gateway
2. ที่เว็บไซต์ www.khonthai.com และ คลิกที่หัวข้อ Thailand Gateway หรือ หัวข้อประตูสู่การบริการภาครัฐ หรือ URL : http://www.khonthai.com/thailandgateway/
3. ใช้ผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ (MPM : Multi Purpose Machine) ซึ่งเป็นเครื่องบริการประชาชนอัตโนมัติ มีระบบให้บริการประชาชนหลากหลายรูปแบบ อาทิ การคัดสำเนารายการข้อมูลตนเอง การแจ้งย้ายเข้าหรือออกจากทะเบียนบ้านแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องไปทำที่อำเภอ ฯลฯ จะเปิดให้บริการ ในเร็ว ๆ นี้
ประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไร
1. เป็นรหัสสำหรับเข้าตรวจสอบข้อมูลของตนเองจากฐานข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร ข้อมูลการทำบัตร ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส / หย่า ฯลฯ
2. เป็นรหัสสำหรับเข้าตรวจสอบสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของภาครัฐที่ทางราชการจะแจ้งสิทธิต่างๆ ของท่านให้ทราบผ่านทางเลือกนี้ และที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติม เช่นสิทธิการเลือกตั้งประกันสุขภาพประกันสังคม การขึ้นทะเบียนทหารการทำใบขับขี่ฯลฯ
3. เป็นรหัสสำหรับเข้าขอตรวจคัดรับรองสำเนารายการทะเบียนข้อมูลของตนเองผ่านทาง Internet และตู้บริการอเนกประสงค์ (MPM) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อหน่วยงานใด ๆ ได้โดยไม่ต้องพกพาเอกสารติดตัว
4. เป็นรหัสสำหรับเข้าสู่กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address khonthai.com) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารได้
5. เป็นรหัสสำหรับการยืนยันตัวบุคคลในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันบุคคลอื่นมาสวมตัวหรือสวมสิทธิขอท่านในการทำบัตร
6. เป็นรหัสในการขอเข้ารับบริการต่างๆ ภาครัฐ (E-GOVERNMENT)
7. เป็นรหัสในการแสดงความคิดเห็นและลงประชามติ
8. เป็นรหัสในการขอเข้ารับบริการทางธุรกิจ (E-BUSSINESS)
9. เป็นรหัสในการยื่นคำร้องสอบถามข้อมูลหรือจ่ายค่าบริการภาครัฐ
10. ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการขอใช้บริการทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รัฐ จัดทำขึ้นให้แก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและในอนาคตอันใกล้นี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีกมากที่จะตามมาดังนั้นรหัสบุคคลจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนขอให้เก็บรักษาไว้ให้ดีและพยายามจดจำไว้ให้แม่นยำ



"สิทธิของท่านท่านพึงต้องรักษาไว้ด้วยตัวของท่าน"

ปัญหาการใช้งาน PIN Code ที่พบบ่อย มีดังนี้

1. รหัสในซอง PIN Code ทำไมเข้าใช้งานไม่ได้
1.1 รหัสในซอง PIN Code ที่ใช้งานได้ต้องมี 2 รหัส รหัสบรรทัดบนเรียก PIN 1 และบรรทัดล่างเรียก PIN 2 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกให้จากโปรแกรมรับแจ้งงานทะเบียนราษฎรข้อที่ 11 
1.2 หากท่านได้รหัสมา 1 รหัสซึ่งได้จากการทำบัตรสมาร์ทการ์ดหรือที่โปรแกรมกำหนด PIN ในบัตร (ข้อ 5) ซึ่งประชาชนจะเป็นผู้กำหนดรหัสด้วยตนเองนี้ จะใช้งานคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ หรือ บัตรสมาร์ทการ์ดแบบใหม่ เท่านั้น

2. ได้รับรหัสจากสำนักทะเบียนมาแล้ว (2 รหัส) ทำไมเข้าใช้งาน webmail khonthai หรือ เข้าตรวจสอบประวัติตนเองไม่ได้
2.1 สำหรับการเข้าตรวจสอบข้อมูลประวัติตนเอง ท่านสามารถใช้รหัส login เข้าสู่ระบบได้ทันที่
2.2 สำหรับการเข้าใช้งาน webmail khonthai ท่านจะเข้าสู่ระบบได้ในวันถัดไปหลังจากได้รับรหัสภายใน 1-2 วัน หลายคนบอกว่าวันถัดไปแล้วทำไมยังเข้าระบบไม่ได้ กรณีนี้ เกิดขึ้นเป็นบางราย มีข้อแนะนำเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 
2.2.1 เมื่อท่านอยู่ที่หน้า Thailand Gateway ข้อ 1 สำหรับประชาชนทั่วไปที่มี PIN Code ให้ท่านกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และ PIN 1 แล้ว คลิก ตกลง 
2.2.2 ท่านจะเข้าสู่หน้าจอ ยินดีต้อนรับคุณ............ (เป็นชื่อของท่านเอง)....... และมีหัวข้อบริการเรื่องต่าง ๆ 
2.2.3 ถ้าท่านต้องการเข้าสู่ระบบเว็บเมล์ให้ท่านดูกรอบ "บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์" คลิกที่หัวข้อ รับ-ส่ง e-mail ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบ webmail khonthaiได้ตามปกติ
หากเข้าไม่ได้ ติดต่อเจ้าหน้าที่ 0-2791-7514 
2.2.4 การเข้าสู่ระบบเว็บเมล์ ชื่อ ผู้ใช้งาน คือ pตามด้วยเลขประชาชน (p1100110001101) เท่านั้น รหัสผ่าน คือ รหัสที่ 1 หรือ PIN 1 
ดังตัวอย่าง 
ผู้ใช้งาน : p1100110001101 
รหัสผ่าน : xxxx

3. ทำไมมีหน้าต่าง error เหมือนไม่สามารถเข้าใช้งานได้
3.1 ขอแนะนำให้ใช้ IE หรือ Internet Explorer Browser 
3.2 หน้าจอใหม่ที่มีรูป กากบาทสีแดง มีข้อความ เช่น There is a problem ... ให้ท่านดำเนินการต่อ คลิกที่บรรทัด Continue to this website (not recommend) 
3.3 หลังจากนั้น หากมีหน้าต่างเล็กขึ้นมาอีก มีข้อความ เช่น Security Alert หรือ ที่มีรูปกุญแจ แล้วมีตัวเลือก Yes หรือ NO ให้ท่านคลิก Yes ท่านก็จะเข้าสู่หน้าจอบริการข้างในได้แล้ว 
3.4 ปัญหาในการเข้าใช้งานที่ข้อ 1 สำหรับประชาชนทั่วไปที่มี PIN Code ที่พบปัญหาว่า กรอกข้อมูลเลขประจำตัว 13 หลัก ครบ และใส่รหัส PIN 1 แล้วคลิก ตกลง แล้วระบบแจ้งว่า เลขประจำตัวประชาชนไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ เป็นปัญหาที่เครื่องของผู้ใช้งานเอง วิธีแก้ไขเบื้องต้น ให้ใช้เม้าส์คลิกกรอกข้อมูลไปทีละช่อง ซึ่งบรรทัดบนจะมี 5 ช่อง ช่องแรกใส่ 1 หลัก ช่องที่ 2 ใส่ 4 หลัก ช่องที่ 3 ใส่ 5 หลัก ช่องที่ 4 ใส่ 2 หลัก และช่องที่ 5 ใส่ 1 หลัก และบรรทัดที่ 2 ใส่รหัส 4 ตัวปกติ



"สิทธิของท่านท่านพึงต้องรักษาไว้ด้วยตัวของท่าน"
Ref.http://stat.bora.dopa.go.th/online/youKnowPin.htm

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


เกียรติบัตร วุฒิบัตร ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร แตกต่างกันอย่างไร

เกียรติบัตร วุฒิบัตร ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร

ความแตกต่างของสี่คำได้แก่ เกียรติบัตร วุฒิบัตร ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร

เกียรติบัตร คำเรียกบัตรที่มอบให้แก่บุคคลเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่สมควรได้รับเกียรติ ได้รับการยกย่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีคุณประโยชน์ เกียรติบัตรที่มอบให้แก่บุคคลที่ได้ประกอบกิจกรรมที่น่าสรรเสริญ เช่น เป็นบุคคลดีเด่นในด้านใดด้านหนึ่งที่น่ายกย่อง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ที่เข้าร่วมประกวดหรือแข่งขันความสามารถในด้านใดด้านหนึ่ง หรือการปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจได้รับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆด้วย

วุฒิบัตร เป็นบัตรที่มอบให้แก่บุคคลเพื่อรับรองว่าเป็นผู้ที่มีวุฒิ คือความเจริญในด้านความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือความสามารถอื่นๆที่ได้จากการอบรม ผู้มอบวุฒิบัตรเป็นผู้รับผิดชอบจัดการอบรม เช่น การอบรมวิชาการต่างๆให้แก่ครูอาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ หรือแก่บุคคลทั่วไป การอบรมการทำอาหาร การอบรมศิลปะการจัดดอกไม้ เป็นต้น

ปริญญาบัตร : เป็นเอกสารรับรองวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา

ประกาศนียบัตร : เอกสารที่แสดงวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษา ที่จัดเป็นหลักสูตร ใช้สำหรับการศึกษาระดับต่ำกว่าระดับปริญญา

ที่มา : บทความจากนิตยสารสกุลไทย

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ตามกรอบแนวคิด 7s McKinsey

สวัสดีนะคะ วันนี้เราอยากจะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกรอบแนวความคิดในรูปแบบ 7s Mckinsey ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยฟังมาแล้ว หลายท่านเคยอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ที่นำแนวคิดของท่านผู้นี้มาใช้ เราลองมาพิจารณาร่วมกันค่ะ
กรอบแนวคิด 7s McKinsey เป็นกระบวนการสร้างความมั่นใจว่าทุกส่วนขององค์กรของคุณทำงานอยู่ด้วยความสามัคคี
คำถาม : คุณจะทำการวิเคราะห์องค์กรของคุณว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดี และมีโอกาสที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่?
นี้เป็นคำถามที่ถูกตั้งคำถามมาเป็นเวลาหลายปีและมีคำตอบที่แตกต่างกันมากมายหลายวิธี เช่น วิธีการบางอย่างดูที่ปัจจัยภายในอื่นๆ และมองออกไปที่บุคคลที่เกี่ยวข้องภายนอกและนำมุมมองทั้งหลายเหล่านี้มาหาความสอดคล้องกันของมุมต่างๆภายในองค์กร  สุดท้ายแนวคำตอบที่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับการพิจารณามุมต่างๆ ภายในองค์กรของตนเองจะจบที่ “ปัจจัยในการศึกษา”
 7s McKinsey ได้มีการพัฒนาในต้นทศวรรษ 1980 โดย Tom  Peter และ Robert   Waterman เป็นสองที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานเป็นที่ปรึกษาของ McKinsey & Company ได้นำเสนอแนวคิดการจัดแนวทางการศึกษาไว้ 7 ด้านสำหรับตรวจสอบภายในองค์กรและจำเป็นที่จะต้องมีความใกล้ชิดกัน (ห้ามมี Gap ระหว่างมุมของแผนก หรือกลุ่มที่ห่างกัน) ภายในองค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ
แนวคิด  7s McKinsey  สามารถนำมามาใช้ในหลากหลายของสถานการณ์ที่มุมมองของการจัดตำแหน่งให้เป็นประโยชน์สำหรับคุณ เช่น
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท
  • ตรวจสอบปัจจัยของแนวโน้มที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทในอนาคต
  • จัดหน่วยงานและกระบวนการที่จำเป็นจะต้องควบรวมหรือยุบรวมกัน
  • กำหนดวิธีการที่ดีที่สุดที่จะใช้กลยุทธ์นำเสนอ
แนวคิดของ 7s McKinsey สามารถนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของทีมงานหรือโครงการได้เป็นอย่างดี ปัญหาของการใช้ทฤษฎีนี้ คือ การนำไปใช้โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่คุณจะต้องตัดสินใจที่จะกำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่คุณจะต้องศึกษา
7 องค์ประกอบที่สำคัญ 
แนวคิด 7s McKinsey เกี่ยวข้องกับ 7 ปัจจัยของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยแบ่งออกเป็นทั้ง “ยากและหนัก” กับ “อ่อนน้อม” ภายในองค์กร
องค์ประกอบ “ยากและหนัก”                             องค์ประกอบ “อ่อนน้อม
กลยุทธ์                                                 ค่านิยมร่วมกัน
โครงสร้าง                                              ทักษะ/ประสบการณ์การทำงาน
ระบบ                                                   สไตล์
                                                                      พนักงาน
องค์ประกอบ “ยากและหนัก” จะง่ายต่อการกำหนดหรือระบุวิธีการจัดการโดยตรงและมีอิทธิพลต่อพวกเขา  ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ : จะต้องใช้แผนภูมิองค์กรและสายการบังคับบัญชาและกระบวนการที่เป็นทางการและใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยสนับสนุน
องค์ประกอบ “อ่อนน้อม” เป็นสิ่งที่ยากที่จะอธิบายและมีความเป็นตัวตนน้อย มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์กรโดยรวม  ซึ่งองค์ประกอบอ่อน มีความสำคัญมากต่อองค์กรที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ
รูปแบบวิธีการที่จะนำเสนอในรูปที่ 1 : ข้างล่างนี้แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพากัน ขององค์ประกอบและบ่งบอกถึง  ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ทั้งหมด
เรามาพิจารณาแต่ละองค์ประกอบเฉพาะ :
  • กลยุทธ์ : การวางแผนด้านการบำรุงรักษาและการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เหนือคู่แข่ง
  • โครงสร้าง : วิธีการกำหนดโครงสร้างขององค์กร  ใครเป็นผู้ที่รายงานและรายงานไปถึงใคร
  • ระบบ : กิจกรรมประจำวันและวิธีการที่พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงาน
  • ค่านิยมร่วมกัน : เรียกว่า “เป้าหมายที่จะบรรลุผลสำเร็จ” เมื่อรูปแบบการพัฒนาเหล่านี้เป็นคุณค่าหลักขององค์กร  จำเป็นที่จะต้องมีสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรและจริยธรรมในการทำงานทั่วไป
  • สไตล์ : สไตล์ของความเป็นผู้นำ ของคณะผู้บริหารองค์กร
  • พนักงาน : ความสามารถทั่วไปของพนักงานในองค์กร และความพร้อมของพนักงานในการพัฒนาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององคืกร
  • ทักษะ : ทักษะ และความสามารถที่แท้จริงของพนักงานที่ทำให้กับองค์กร
การกำหนดค่านิยมร่วมกันในช่วงกลางของแนวคิด 7s McKinsey เป็นรูปแบบที่เน้นว่าค่านิยมที่กำหนดนี้เป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาทุกองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆ ของโครงสร้างองค์กร เช่น โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์  ระบบ  สไตล์  พนักงาน และทักษะความสามารถ  ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่องค์กรถูกสร้างขึ้นทั้งหมดและเป็นสิ่งที่ยืนยันที่ดี เกี่ยวกับ วิสัยทัศน์เดิมขององค์กร  ที่ก่อตั้งขึ้นจากค่านิยมของผู้สร้าง

วิธีการนำแนวคิด 7s McKinsey ไปใช้ 
ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าสิ่งที่เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมถึงวิธีการต่างๆ ที่คุณสามารถนำแนวคิดไปใช้ได้หรือไม่
รูปแบบแนวคิดของ 7s McKinsey จะขึ้นอยู่กับทฤษฎีที่ว่าองค์กรสามารถจะดำเนินการกระบวนการทั้ง 7 อย่างของแนวคิด 7s McKinsey    โดยที่องค์ประกอบทั้งหมดจะต้องสอดคล้อง   และส่งเสริมร่วมกัน ดังนั้นรูปแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยระบุสิ่งที่จะต้องทำได้จริง และปรับปรุงประสิทธิภาพหรือรักษาแนวปฎิบัติ (ประสิทธิภาพการทำงาน) ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานในส่วนอื่นๆ
ไม่ว่าชนิดของรูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลง–การปรับโครงสร้างของกระบวนการใหม่, การควบรวมกิจการของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร,  การออกแบบระบบการทำงานใหม่,  การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำ หรือรูปแบบสไตล์การทำงานของผู้นำ และอื่นๆ  ซึ่งรูปแบบ 7s ที่นำมาใช้จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์ประกอบขององค์กรและมีความสัมพันธ์กัน  เพื่อให้แน่ใจว่าผลกระทบที่กว้างของการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในพื้นที่หรือหน่วยงานที่กำลังพิจารณา
คุณสามารถใช้แบบจำลอง 7s เพื่อช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน (จุด A) และสถานการณ์ในอนาคตที่เสนอ (จุด B)และเป็นการระบุช่องว่างและความไม่สอดคล้องกันระหว่างจุด A และ จุด B ของพวกเขา   ซึ่งมันก็ คือ คำถามของการปรับปรุงและการปรับเปลี่ยนองค์กรตามแบบจำลองของ 7s  เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของคุณทำงานมีประสิทธิภาพและดีเมื่อคุณมาถึงปลายทางที่ต้องการ
สิ่งที่เป็นคำถามในใจระยะแรกๆ มันจะง่ายอย่างนั้นจริงหรือ?  มันจะดีได้ตามนั้นจริงๆ หรือ? : การเปลี่ยนแปลงองค์กรของคุณอาจจะไม่ง่ายที่ทุกคนสามารถปฎิบัติได้ในทันที  เพราะจะต้องใช้การค้นคว้าจากตำรา และกระบวนการวิธีการที่จะทุ่มเทให้กับการวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กร การปรับปรุงประสิทธิภาพและการจัดการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งแบบจำลอง 7s เป็นกรอบที่ดีที่จะช่วยให้คุณตั้งคำถามที่เหมาะสม–แต่ก็จะไม่ให้คำตอบทั้งหมด สำหรับสิ่งที่คุณจะต้องนำมารวมกันด้วยความรู้ที่ถูกต้อง, ทักษะและประสบการณ์
ดังนั้น เมื่อคุณเดินทางมาถึงคำถามที่ถูกต้องและเหมาะสม เราได้ทำการพัฒนาเมทริกซ์ในการติดตามวิธีการทำงานทั้งอย่างของ 7s ที่เป็นองค์ประกอบที่สอดคล้องกัน เพื่อช่วยสนับสนุนคำถามของคุณและจำเป็นตามสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงขององค์กรคุณและภูมิปัญญาที่สะสมมาของผู้บริหารและทีมงาน

คำถามที่ใช้ตรวจสอบ 7s 
นี้เป็นเพียงบางส่วนของคำถาม ที่คุณจะต้องสำรวจเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์ของคุณในแง่ของกรอบ 7s  ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของคุณ (จุด A) เป็นครั้งแรก  และทำการวิเคราะห์ซ้ำด้วยการนำเสนอสถานการณ์ (จุด B)
กลยุทธ์ : 
  • กลยุทธ์ของเรา คือ อะไร?
  • วิธีการของกลยุทธ์ตั้งใจที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเรา ทำอย่างไร?
  • เรามีวิธีการที่จะรับมือกับแรงกดดันในการแข่งขัน อย่างไร?
  • เราจะจัดการกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร?
  • กลยุทธ์ที่ช่วยปรับปรุงเกี่ยวกับปัญหาด้านสภาพแวดล้อม อย่างไร?
โครงสร้าง : 
  • บริษัท / ทีมงาน แบ่งออกเป็นอย่างไร?
  • ลำดับชั้นของโครงสร้างองค์กร เป็นแบบไหน?
  • หน่วยงานต่างๆ มีกิจกรรมประสานงานกันอย่างไร?
  • สมาชิกในทีมขององค์กรมีการจัดระเบียบวิธีการภายในกลุ่มอย่างไร?
  • กระบวนการตัดสินใจและการควบคุมเป็นแบบกระจายอำนาจ หรือ เป็นแบบรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง?  อะไรคือสิ่งที่เราควรจะต้องทำให้มันเกิดขึ้น ?
  • เส้นทางสายการติดต่อสื่อสารภายในการองค์กรเป็นอย่างไร? มีระบบหรือวิธีการที่ชัดเจนหรือไม่?
ระบบ : 
  • อะไรคือระบบหลักที่ใช้ทำงานในองค์กร มีอะไรบ้าง?  มีการพิจารณาทางการเงิน  และระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลร่วมทั้งการสื่อสารและการจัดเก็บให้เป็นระบบหรือไม่?
  • มีระบบที่จะใช้ควบคุมหรือไม่?  วิธีการที่พวกเขาจะใช้ตรวจสอบและประเมินผล เป็นอย่างไร?
  • กฎระเบียบการควบคุมภายในและกระบวนการที่ใช้เพื่อให้เกิดการติดตาม คือะไร?
ค่านิยมร่วมกัน : 
  • ค่านิยมหลักที่ยอมรับร่วมกันมีอะไรบ้าง?
  • วัฒนธรรมของทีมงาน / ของทั้งองค์กร คือ อะไร?
  • มีวิธีการอะไรที่จะทำให้ค่านิยมแข็งแกร่ง?
  • อะไร คือ ค่านิยมพื้นฐานที่ องค์กร / ทีมงาน สร้างร่วมกัน?
สไตล์ : 
  • วิธีการมีส่วนร่วมในการจัดการ / ลักษณะความเป็นผู้นำคืออะไร?
  • มีวิธีการที่มีประสิทธิภาพและความเป็นผู้นำของผู้บริหาร หรือไม่?
  • พนักงาน/สมาชิกในทีมของหน่วยงานภายในองค์กร มีแนวโน้มที่จะแข่งขันกันหรือไม่?
  • จะมีทีมงานที่ทำงานจริงๆ ภายในองค์กร หรือพวกเขาเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยในองค์กร หรือไม่?
พนักงาน : 
  • อะไรระบุตำแหน่ง หรือความเชี่ยวชาญพิเศษสำหรับเป็นตัวแทนของทีม?
  • อะไรเป็นตัวระบุตำแหน่งที่จำเป็นขององค์กร?
  • มีช่องว่างของความต้องการด้านคุณสมบัติพนักงานที่จำเป็น หรือไม่?
ทักษะ : 
  • อะไรคือ ทักษะที่แข็งแกร่งที่แสดงทักษะความชำนาญของบริษัท และทีมงาน?
  • มีพนักงานที่ขาดทักษะความชำนาญ ประมาณเท่าใด?
  • องค์กร/ทีมงานที่รู้จักกันดีและเป็นที่ยอมรับว่าดี  คือ อะไร?
  • พนักงานในปัจจุบัน / สมาชิกในทีมมีความสามารถในการทำงาน หรือไม่?
  • ทักษะและวิธีการติดตาม ประเมินผล เป็นอย่างไร?

คำถามของเมทริกซ์ 7s  

โดยที่ใช้ข้อมูลที่คุณมีการรวบรวมและตรวจสอบช่องว่างและความไม่สอดคล้องกันระหว่างองค์กรกับองค์ประกอบทั้ง 7 ส่วน  โปรดจำไว้ว่าคุณสามารถใช้มุมมองนี้ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือสิ่งที่องค์กรอของคุณต้องการ
คุณสามารนำตารางเมทริกซ์ที่คุณสามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ 7s เพื่อตรวจสอบการจัดตำแหน่งต่างๆ ขององค์ประกอบและปิดช่องว่างแต่ละองค์ประกอบตามที่คุณทำผ่านไปแต่ละขั้นตอน สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่
ขั้นตอนการตรวจสอบองค์ประกอบ ประกอบด้วย
  • เริ่มต้นด้วยค่านิยมร่วมกันของคุณ : พวกเขาสอดคล้องกับโครงสร้างกลยุทธ์ของคุณและระบบ หรือไม่? ถ้าไม่, อะไรที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแแปลง?
  • มองเข้าไปที่องค์ประกอบหลักขององค์กร  มีวิธีการอื่นๆ ที่จะสนับสนุนหรือไม่? ระบุ อะไรที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง?
  • มุมมองถัดไปที่องค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่แข็งกระด้างในองค์กร อะไรเป็นองค์ประกอบที่ยากและต้องการแรงสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลง?  พวกเขาทำงานอย่างใดอย่างหนี่งเพื่อให้การสนับสนุนคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่?  ถ้าไม่, อะไรที่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง?
  • ในขณะที่คุณกำลังปรับหรือจัดตำแหน่งขององค์ประกอบที่คุณจะต้องใช้บ่อย (และมักจะใช้เวลานานเท่าใด) ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยน และหลังจากนั้นให้มีการวิเคราะห์วิธีการที่จะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ และการจัดตำแหน่งของพวกเขา  รวมทั้งผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการปรับเปลี่ยนและความคุ้มค่าของการปรับเปลี่ยนมันจากเดิม
คำแนะนำ :
สำหรับวิธีการที่ใกล้เคียงกับ 7s ขอให้เข้าไปค้นคว้าแนวคิดของ Burke-Litwin Change Model และ Congruence Model, Impact Analysis และ Lewin’s Change Management Model  ซึ่งเราจะนำมาเล่าให้ฟังในอนาคต
สิ่งสำคัญ :
รูปแบบของแนวคิด McKinsey 7s เป็นหนึ่งแนวคิดที่สามารถใช้ได้กับเกือบทุกปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรหรือทีมงาน  ถ้าบางสิ่งที่อยู่ภายในองค์กรหรือทีมของคุณไม่ทำงาน หรือมีโอกาสที่จะขัดแย้งกันระหว่างกันในบางองค์ประกอบของแนวคิด 7s  ดังนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องนำกระบวนการคิดเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์และปิดช่องว่างของความขัดแย้งและการทำงานแบบไม่มีประสิทธิภาพนั้นๆ  เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาทั้งหมดสนับสนุนให้เกิดเป้าหมายร่วมกันและสร้างคุณค่าให้กับองค์กร
กระบวนการของการวิเคราะห์ที่คุณกำลังอ่านอยู่ตอนนี้ในแง่คิดขององค์ประกอบของความคุ้มค่าในตัวองค์กรเอง  ซึ่งการวิเคราะห์นี้ได้ระบุถัดไปถึงการกำหนดสถานะที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละปัจจัยที่เหมาะสม และคุณสามารถผลักดันองค์กรหรือทีมงานของคุณไปข้างหน้าได้
สุดท้ายนี้ เราหวังว่าทุกๆ ท่านน่าจะได้รับประโยชน์จากแนวคิด 7s และนำไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์กรของท่านให้เกิดประสิทธิภาพ และลดความขัดแย้งภายในองค์กร
ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดี
เอกกมล  เอี่ยมศรี
ผู้เรียบเรียง

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ไขปัญหา 13 หลักเลขบัตรประชาชน

                                         เลข 13 หลัก ในบัตรประชาชน ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้พอสังเขป ดังนี้  สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9  (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้

หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่

ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาหมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า

ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527)หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9

ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง

การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ

ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9

ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12

ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133

ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7

คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้

หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น


หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ

หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที

สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ

เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548

ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น  เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้


Cr: อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

STRATEGY AND PLANNING

เราจะวางแผนต้องรู้อะไรบ้างนะ....

          การวางแผนยุทธศาสตร์หรือการวางแผนงาน เราจำเป็นต้องอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีเข้ามาเป็นเครื่องมือ หรือตัวช่วย (เพราะหลายปีที่ผ่านมา ได้สังเกตจากท่านผู้บริหารแต่ละท่าน เวลาคิดมักจะมีกรอบแนวคิดเสมอๆ...มิน่า ทำไมเราจึงได้สะเปะสะปะ ซะเหลือเกิ๊นนนนน! ) มีหลายทฤษฎีให้เราเลือก เราเลือกใช้แบบที่ได้เรียนรู้มา คือ "แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์[SRM; STRATEGIC ROUTE MAP] ซึ่งตามความเข้าใจของเรา ก็คือเครื่องมือประเมินแผนงาน/ยุทธศาสตร์ ที่ท่าน  ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร  นนทสุต  ท่านได้แปลงมาจาก  BALANCE SCORE CARD [BSC] ซึ่งใช้กันแพร่หลายในเชิงธุรกิจ และทางภาครัฐก็ได้นำมาใช้ในเป็นเครื่องมือช่วยประเมินการทำงานในภาครัฐอิกด้วยที่เรารู้จักก็ใช้ประเมิน การบริหารจัดการภาครัฐ; PMQA  [Public Sector Management Quality Award]ไงล่ะที่มี 4 มุมมอง/4ระดับ(ประสิทธิผล คุณภาพ ประสิทธิภาพ องค์กรและการเรียนรู้) ...แล้วยังจะต่อยอดลงมาเป็นPCA [Primary Care  Award] ที่ในช่วงหลังมาเพิ่ม H กลายเป็น PCHA [Primary Care Hospital Award] รพ.สต.ต้องรู้จักกันดีแน่ๆ
             สำนักงาน ก.พ.ร.ได้นำ  PMQA มาใช้เป็นตัวชี้วัดกับหน่วยงานราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญ การดำเนินการขั้นต่อไปเมื่อส่วนราชการดำเนินการพัฒนาองค์การครบทุกหมวด ( 7 หมวด) และผ่านการรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน(Certify Fundamental ; FL) แล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. จะส่งเสริมให้ส่วนราชการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL) 2 และเมื่อส่วนราชการสามารถดำเนินการผ่านเกณฑ์ฯ ระดับก้าวหน้า และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าสากลตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อไป เพราะฉะนั้น เรามารู้จัก PMQA กันก่อนเลยดีกว่าสำหรับวันนี้....

PMQA  คืออะไร
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) เป็นกรอบการบริหารจัดการองค์การ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการประเมินองค์การด้วยตนเองที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับปรุงองค์การอย่างรอบด้านและอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้ง ด้าน(หมวด คือ 
(1)          การนำองค์การ  
เป็นการประเมินการดำเนินการของผู้บริหารในเรื่องวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม ความคาดหวังในผลการดำเนินการ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ในส่วนราชการ การกำกับดูแลตนเองที่ดี และดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
(2)การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
เป็นการประเมินวิธีการกำหนดและถ่ายทอดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หลัก และแผนปฏิบัติราชการ เพื่อนำไปปฏิบัติและวัดผลความก้าวหน้าของการดำเนินการ
(3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย        
เป็นการประเมินการกำหนดความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมชมชอบ การสร้างความสัมพันธ์ และการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้รับบริการและ  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ       
(4)การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 
เป็นการประเมินการเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลและสารสนเทศ และการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การ
(5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
เป็นการประเมินระบบงาน ระบบการเรียนรู้ การสร้างความผาสุกและแรงจูงใจของบุคลากร  เพื่อให้บุคลากรพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ตามทิศทางองค์การ
(6)การจัดการกระบวนการ 
เป็นการประเมินการจัดการกระบวนการ การให้บริการ และกระบวนการอื่นที่ช่วยสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกระบวนการสนับสนุน เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์การ
(7) ผลลัพธ์การดำเนินการ 
เป็นการประเมินผลการดำเนินการและแนวโน้มของส่วนราชการในมิติด้านประสิทธิผล มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านการพัฒนาองค์การ

การประเมินองค์การตามเกณฑ์PMQA ใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบADLI 1 โดยการตอบคำถามตามเกณฑ์ในแต่ละหมวด ซึ่งเปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพองค์การ ที่จะทำให้ทราบจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง และนำโอกาสในการปรับปรุงที่พบไปวางแผนพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยเลือกเครื่องมือทางการบริหารที่เหมาะสมมาดำเนินการต่อไป 
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาองค์การในเรื่องต่างๆ เป็นไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ส่วนราชการมีระดับการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล 

ภาพด้านล่างนี้เป็นส่วนราชการที่ได้เป็นแกนหลักในการดำเนินการ PMQAจะเห็นว่ามีกรมควบคุมโรคอยู่ด้วย ซึ่ง ท่านอาจารย์สุจิตรา นามสกุลอะไรน๊าาาาา(นิสัยไม่ดีจำแต่ทฤษฎีแต่ลืมอาจารย์55)ที่เคยมาสอนเราทำแผนที่สสจ.สมุทรสาครนั่นแหละ เป็นแกนหลักในการดำเนินการ และท่านก็เป็นศิษย์รุ่นแรกของท่านอ.อมร นนทสุต อิกด้วย...

                  555....เหมือนกันเป๊ะ! PMQA และPCA เลยขอยกทฤษฎีกรอบการตอบคำถามของ PCA มาตอบ PMQA ด้วยคงไม่ผิดนะ.....มีท่านอาจารย์สอนเราตอนเรียนรู้ "PCA " ว่า "ADLI" เป็นกรอบการตอบคำถาม ใน 6 หมวด เท่านั้น แต่การตอบคำถามในหมวดที่ 7 เราต้องตอบคำถามแบบ "LeTCLi"นะจร้าาาาา (ADLI กะLeTCLI กล่าวบ้างแล้วในบทความก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

>PMQA และ PCA ....คืออะไรกันน๊าาาา

                                      


                        PMQA และ PCA เป็นระบบการดำเนินงานของหน่วยงานหรือหน่วยบริการซึ่งประกอบด้วย 7 หมวด คือ
1.หมวดการนำองค์กร /ความท้าทาย (ข้อมูลทั่วไป วิสัยทัศน์ และพันธกิจตลอดจน นโยบาย และบทบาทหน้าที่)
2.หมวดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (จะการวางแผน และการถ่ายทอดแผนอย่างไร)
3.หมวดการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เขาคือใคร และมีความคาดหวังอย่างไร)
4.หมวดการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล (จะรวบรวม และวิเคราะห์ )
5.หมวดการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (สรรหา พัฒนาและ รักษาไว้)
6.หมวดการจัดการกระบวนการ ( ขั้นตอนการดำเนินการทำอย่างไรอาจเป็นFlowChart)
7.หมวดผลลัพธ์การดำเนินการ (ผลลัพธ์/ผลงาน)
               หากจัดหมวดหมู่ตามหลักทฤษฏีระบบ
        Input คือ หมวดการนำองค์กร หมวดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวดการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
        Process คือ หมวดการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวดการจัดการกระบวนการ
        Output คือ หมวดผลลัพธ์การดำเนินการ
        Feedback คือ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
      ในทุกหมวดที่กล่าวมา หน่วยผู้รับการประเมินจะต้องตอบคำถาม ให้เห็นภาพการดำเนินการบริหารจัดการในแต่ละหมวด
      โดยใช้กรอบแนวคิด  ADLI กับ LeTCLi มานำทาง.......แล้วมันคืออะไรล่ะ
       ADLI เป็นประเด็น ในการตอบคำถาม ในมิติ ของกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย
1.แนวทาง (Approach)
2.การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment)
3.การเรียนรู้ (ทบทวนและปรับปรุง)(Learning)          และ
4.การบูรณาการ (Integration)    
       ส่วน       LeTCLi เป็นประเด็น ในการตอบคำถาม ในมิติ ของหมวดผลลัพธ์ (Output) ประกอบด้วย
1.ระดับ (Level) 
2.แนวโน้ม (Trend)
3.สารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (Comparison) และ
4.ความเชื่อมโยง (Linkage)
       หากองค์กรได้ รับการประเมินด้วยระบบนี้ ลองนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ...