วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

STRATEGY AND PLANNING

เราจะวางแผนต้องรู้อะไรบ้างนะ....

          การวางแผนยุทธศาสตร์หรือการวางแผนงาน เราจำเป็นต้องอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีเข้ามาเป็นเครื่องมือ หรือตัวช่วย (เพราะหลายปีที่ผ่านมา ได้สังเกตจากท่านผู้บริหารแต่ละท่าน เวลาคิดมักจะมีกรอบแนวคิดเสมอๆ...มิน่า ทำไมเราจึงได้สะเปะสะปะ ซะเหลือเกิ๊นนนนน! ) มีหลายทฤษฎีให้เราเลือก เราเลือกใช้แบบที่ได้เรียนรู้มา คือ "แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์[SRM; STRATEGIC ROUTE MAP] ซึ่งตามความเข้าใจของเรา ก็คือเครื่องมือประเมินแผนงาน/ยุทธศาสตร์ ที่ท่าน  ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร  นนทสุต  ท่านได้แปลงมาจาก  BALANCE SCORE CARD [BSC] ซึ่งใช้กันแพร่หลายในเชิงธุรกิจ และทางภาครัฐก็ได้นำมาใช้ในเป็นเครื่องมือช่วยประเมินการทำงานในภาครัฐอิกด้วยที่เรารู้จักก็ใช้ประเมิน การบริหารจัดการภาครัฐ; PMQA  [Public Sector Management Quality Award]ไงล่ะที่มี 4 มุมมอง/4ระดับ(ประสิทธิผล คุณภาพ ประสิทธิภาพ องค์กรและการเรียนรู้) ...แล้วยังจะต่อยอดลงมาเป็นPCA [Primary Care  Award] ที่ในช่วงหลังมาเพิ่ม H กลายเป็น PCHA [Primary Care Hospital Award] รพ.สต.ต้องรู้จักกันดีแน่ๆ
             สำนักงาน ก.พ.ร.ได้นำ  PMQA มาใช้เป็นตัวชี้วัดกับหน่วยงานราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญ การดำเนินการขั้นต่อไปเมื่อส่วนราชการดำเนินการพัฒนาองค์การครบทุกหมวด ( 7 หมวด) และผ่านการรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน(Certify Fundamental ; FL) แล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. จะส่งเสริมให้ส่วนราชการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL) 2 และเมื่อส่วนราชการสามารถดำเนินการผ่านเกณฑ์ฯ ระดับก้าวหน้า และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าสากลตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อไป เพราะฉะนั้น เรามารู้จัก PMQA กันก่อนเลยดีกว่าสำหรับวันนี้....

PMQA  คืออะไร
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) เป็นกรอบการบริหารจัดการองค์การ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการประเมินองค์การด้วยตนเองที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับปรุงองค์การอย่างรอบด้านและอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้ง ด้าน(หมวด คือ 
(1)          การนำองค์การ  
เป็นการประเมินการดำเนินการของผู้บริหารในเรื่องวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม ความคาดหวังในผลการดำเนินการ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ในส่วนราชการ การกำกับดูแลตนเองที่ดี และดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
(2)การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
เป็นการประเมินวิธีการกำหนดและถ่ายทอดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หลัก และแผนปฏิบัติราชการ เพื่อนำไปปฏิบัติและวัดผลความก้าวหน้าของการดำเนินการ
(3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย        
เป็นการประเมินการกำหนดความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมชมชอบ การสร้างความสัมพันธ์ และการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้รับบริการและ  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ       
(4)การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 
เป็นการประเมินการเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลและสารสนเทศ และการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การ
(5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
เป็นการประเมินระบบงาน ระบบการเรียนรู้ การสร้างความผาสุกและแรงจูงใจของบุคลากร  เพื่อให้บุคลากรพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ตามทิศทางองค์การ
(6)การจัดการกระบวนการ 
เป็นการประเมินการจัดการกระบวนการ การให้บริการ และกระบวนการอื่นที่ช่วยสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกระบวนการสนับสนุน เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์การ
(7) ผลลัพธ์การดำเนินการ 
เป็นการประเมินผลการดำเนินการและแนวโน้มของส่วนราชการในมิติด้านประสิทธิผล มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านการพัฒนาองค์การ

การประเมินองค์การตามเกณฑ์PMQA ใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบADLI 1 โดยการตอบคำถามตามเกณฑ์ในแต่ละหมวด ซึ่งเปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพองค์การ ที่จะทำให้ทราบจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง และนำโอกาสในการปรับปรุงที่พบไปวางแผนพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยเลือกเครื่องมือทางการบริหารที่เหมาะสมมาดำเนินการต่อไป 
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาองค์การในเรื่องต่างๆ เป็นไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ส่วนราชการมีระดับการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล 

ภาพด้านล่างนี้เป็นส่วนราชการที่ได้เป็นแกนหลักในการดำเนินการ PMQAจะเห็นว่ามีกรมควบคุมโรคอยู่ด้วย ซึ่ง ท่านอาจารย์สุจิตรา นามสกุลอะไรน๊าาาาา(นิสัยไม่ดีจำแต่ทฤษฎีแต่ลืมอาจารย์55)ที่เคยมาสอนเราทำแผนที่สสจ.สมุทรสาครนั่นแหละ เป็นแกนหลักในการดำเนินการ และท่านก็เป็นศิษย์รุ่นแรกของท่านอ.อมร นนทสุต อิกด้วย...

                  555....เหมือนกันเป๊ะ! PMQA และPCA เลยขอยกทฤษฎีกรอบการตอบคำถามของ PCA มาตอบ PMQA ด้วยคงไม่ผิดนะ.....มีท่านอาจารย์สอนเราตอนเรียนรู้ "PCA " ว่า "ADLI" เป็นกรอบการตอบคำถาม ใน 6 หมวด เท่านั้น แต่การตอบคำถามในหมวดที่ 7 เราต้องตอบคำถามแบบ "LeTCLi"นะจร้าาาาา (ADLI กะLeTCLI กล่าวบ้างแล้วในบทความก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น